�� � � � �สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ �ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7 �แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ �และทรงเป็น พระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์แรก กับเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก ที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช �ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ � ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถึงปี พ.ศ. 2396 รวม 2 พรรษา �สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 64 พรรษา �� � � � �สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ �เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2333 มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวาสุกรี �ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุได้ �12 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2345 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพน ฯ ทรงศึกษาหนังสือไทย และภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์ จนทรงมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
�� � � � �ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ �ให้รวมวัดในแขวงกรุงเทพ ฯ ขึ้นเป็นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกลาง �แล้วได้สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง และทรงตั้งเป็นเจ้าคณะกลาง
�� � � � �พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ �ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส �ทรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาสังฆปริณายก ทั่วพระราชอาณาเขต ให้จัดตั้ง พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดพระเชตุพน ฯ มีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ คล้ายกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทย
�� � � � �สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน �ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องพระปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก หรือร่ายยาวมหาชาติ ซึ่งนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์
�� � � � �ในทางพระพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โดยทรงเลือกพระอิริยาบทต่าง ๆ จากพุทธประวัติเป็นจำนวน 37 ปาง เริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา �จนถึงปางห้ามมาร �พระพุทธรูปปางต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มากเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย �พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค และชลมารค เป็นต้น
�� � � � �ในทางอักษรศาสตร์ ก็ได้นิพนธ์เรื่องฉันท์มาตราพฤติ และวรรณพฤติ ตำราโคลงกลบท คำกฤษฎี เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นิพนธ์บทกวีอีกเป็นจำนวนมาก ที่ล้วนมีคุณค่าเป็นเพชรน้ำเอกทางวรรณกรรมของไทยตลอดมา ในปี พ.ศ. 2533 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) �ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ. 2533 นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายเกียรตินี้
เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ อาจจะเนื่องจากไม่มีพระเถระรูปใด มีคุณสมบัติอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนา ตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ตามพระราชประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ พระเถระที่จะทรงตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จพระราชาคณะ นั้น ก็เฉพาะผู้ทรงคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นพระอุปัชฌาย์ � เป็นอาจารย์เป็นที่ทรงนับถือเหมือนอย่างพระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์ หรือเป็นผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า มีอายุแก่กว่าพระชนมพรรษา แม้ว่าจะว่างสมเด็จพระสังฆราช �แต่การปกครองคณะสงฆ์ ก็สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากแต่โบราณมา พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะสงฆ์ โดยมีเจ้านาย �หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่ง เจ้ากรมสังฆการี �เป็นผู้กำกับดูแลแทนพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรง ทรงดำรงฐานะปูชนียบุคคล การปกครองในลักษณะนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลงไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ
|