ข้อมูลประวัติ พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร
พระอาจารย์วัน ชาติกาลเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2465 ตรงกับแรม 6 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อแหลม สีลา รักษ์ มารดาชื่อ จันทร์ มาริชิน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 2 คน คือ พระอาจารย์วัน และนายผัน ลีลา รักษ์
เมื่ออายุยังน้อย พระอาจารย์วันเป็นบุคคล ที่ชอบสนุกร่าเริง แต่ในความสนุกร่าเริง ดังกล่าวก็มิได้ทำความเสียหายทั้งใน เรื่องของความประพฤติ การศึกษาและความรับผิดชอบ ในการงานที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดา ทั้งในเรื่องบวชเรียนก็ไม่ได้คิดคำนึงมา แต่น้อย แม้บิดาได้เคยสั่งไว้ว่าให้บวช ให้ท่านบ้าง จะอยู่ในศาสนาน้อยมากก็ตาม แต่ศรัทธา ภายหลังจึงได้ตัดสินใจบวชตาม คำสั่งของบิดายังความตื้นตันใจแก่ญาติด มิตรเป็นล้นพ้น แต่ในขั้นแรกได้ไปรับ ใช้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์วัง ฎิติสาโร วัด ป่าม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาเมื่อ ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (พระธรรมเจดีย์ จู ม พนธุโล) เดินทางกลับมาจากงาน ผูกพัทธสีมา ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จะแวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบล พันนา อำเภอสว่างแดนดิน พระอาจารย์วังจึงได้ นำไปบวชเป็นสามเณร ณ ที่วัดนั้น เมื่อวัน ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เมื่ออายุ 15 ปี โดยมีพระราชกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นบวช แล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดอรัญญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้น 2 พรรษา
พ.ศ. 2481 - 2482 เจ้าคุณ พระราชกวี พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้าน สามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
.ศ. 2483 พระอาจารย์วัน ได้กราบลา ท่านเจ้าคุณไปจำพรรษาที่วัดสุทธาวาสอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพระมหาแสง ปุสโส (พระจริย คุณาจาร) เป็นเจ้าอาวาสได้เริ่มเรียนนักธรรม ชั้นตรีแต่ปีนั้นจนกระทั่งสอบได้
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2485 ได้อุปสมบทเป็นพระที่ วัดสว่างโสก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครู จินนวิโสธนาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาคล้าย เป็นพระธรรมวาจาจารย์ แล้วจึงเดินทางกลับมา จำพรรษาที่วัดสุทธาวาสจังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาชั้นนัก ธรรมเอก ภายหลังจึงได้เดินทางไปสอบนัก ธรรมเอกที่จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2480 กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้นได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียน วัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วย เพราะสุขภาพ
พ.ศ. 2480 กลับมา จำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้น ได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วยเพราะสุข ภาพ
พ.ศ. 2488 ได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ซึ่งที่นั้นได้พบกับท่านอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งมาจำพรรษาอยู่จึงได้ ศึกษาอบรมยอมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น เป็น เวลาถึง 5 ปี จนหระทั่งถึงปี พ. ศ. 2492
ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2500 พระอาจารย์วันได้จำพรรษาในถิ่นที่ต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2501 ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพุฒา ราม บ้านคำตานา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดน ดิน จนถึง พ.ศ.2503
พ.ศ. 2503 ได้มาพักที่วัดโชติการาม บ้าน ปทุมวาปี อำเภอส่องดาว ตามคกร้องนิมนต์ของญาติโยม ซึ่งได้สร้างเป็นที่พักชั่วคราว ภายหลังได้ มีการสร้างกุฏิถาวรขึ้น ตามศรัทธาของญาติโยม ปัจจุบันคือวัดอภัยดำรงธรรม ทั้งภายหลังได้สร้าง พระพุทธรูปที่ถ้ำพวงโดยมีจุดประสงค์ให้ ชาวบ้านหันมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแทน การเซ่นสรวงผีสสางในภูเขาซึ่งเป็นสถาน ที่พระอาจารย์วัน ได้จำพรรษาเป็นระยะเวลานาน ได้พัฒนาสถานที่รวมทั้งความประพฤติปฏิบัติของราษฎร ชาวบ้านในแถบนั้นอย่างกว้างขวาง
จนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยเหตุ เครื่องบินตกขณะที่ท่านได้รับอาราธนาเข้ากรุงเทพ พร้อมด้วยพระอาจารย์อีก 4 รูป และเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระนางเจ้า ๆ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระ ราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณ์วลัยลักษณ์มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
เนื่องจากเป็นพระสงฆ์ฝ่ายผฏิบัติ ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิต มิได้มุ่งเน้นไป ทางด้านวัตถุ แต่มุ่งไปทางการปฏิบัติและกา รอบรมสั่งสอน ชี้เหตุแห่งทุกข์ ชี้ผลความ สุขในการปฏิบัติธรรม จึงมีผลงานทางวัตถุ ได้น้อย แต่เนื่องจากเป็นพระสงฆ์ที่ชอบสงเคราะห์ ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง จึงทำให้เกิดผล งานทางสงเคราะห์ด้านวัตถุหลายอย่างเช่น
1. สร้างศาลาใหญ่ พร้อมด้วยกุฏิพักสงฆ์ภายในวัด
2. สร้างถ้ำพวง และพระประธานนามพระมงคล มุจลินท์ ศาลาพระราชทานและกุฏิสงฆ์
3. อ่างเก็บน้ำเพื่อทำน้ำประปาช่วยเหลือประชาชน
4. อุปถัมภ์ศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวันเข้า เรียน
5. สร้างตึกสงฆ์อาพาธ และช่วยเหลือ โรงพยาบาล
6. เป็นผู้นำในการตัดทาง เข้าหมู่บ้าน
7. จัดสร้างโรงเรียนประถมศึกษา
8. ติดต่อขอไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน และ ในวัด
พระอาจารย์วัน อุตตโม จัดได้ว่าเป็น พระนักพัฒนาชุมชนที่สำคัญหมู่บ้านเชิงเขา รอบ ๆ วัดล้วนสามารถทำการเกษตรกรรมได้ด้วย คำแนะนำของท่านอาจารย์และฟื้นฟูจากสภาพ ป่าดงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การสร้าง แหล่งน้ำ การสร้างโรงเรียน ทำให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืนเกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างน่าสน ใจ
** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย