�� � � � �สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรณาณวงศ์ �เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ �14 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี �พ.ศ. 2501 พระชนมายุ �86 พรรษา �� � � � �พระองค์เป็นโอรสหม่อมราชวงศ์ถนอม และหม่อมเอม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2415 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ฯ สยามมงกุฏราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เป็น คะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ฯ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศ ฯ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส �ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2433 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ 5 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี �พ.ศ. 2435 สอบได้เปรียญ 7 ประโยค �เมื่อปี พ.ศ. 2437 �ได้รับโปรดเกล้า ฯ �ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์
�� � � � �พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาตั้งแต่ต้น คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ พระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ไปไว้ใช้ฝึกสอน ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง พระองค์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี
พ.ศ. 2446 � ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระญาณวราภรณ์ พ.ศ. 2455 � ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในพระราชทินนามเดิม พ.ศ. 2464 � ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษในพระราชทินนามเดิม พ.ศ. 2467 � ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา พ.ศ. 2471 � โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ พ.ศ. 2476 � ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม �บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พ.ศ. 2485 � ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ �พ.ศ. 2484 พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง �ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวร ฯ ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. 2477 �และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2480 �พระองค์ก็ได้ทรงเป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติสืบต่อมา �และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุติ ที่สำคัญหลายประการ �� � � � �เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย �เมื่อปี พ.ศ. 2494 �ดังนี้
1. �การปกครองส่วนกลาง �คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย 2. �การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์พระองค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฯ ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2470 �พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พระองค์ได้ทรงชำระ 2 เล่ม คือ �เล่ม 25 �และเล่ม 26 เมื่อปี พ.ศ. 2467 �ทรงชำระอรรถกถาชาดก ภาคที่ 3 จากจำนวน 10 ภาค ที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี �พระพันวสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้ชำระพิมพ์ หนังสือที่ทรงรจนา ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์ �พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ �บทความต่าง ๆ รวมเล่ม ชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีธรรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา 55 กัณฑ์
�� � � � �พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จออกทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. 2499 �� � � � �ในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย �รัฐบาลสหภาพพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่า คือ อภิธชมหารัฏฐคุรุแด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2500
|