พระเครื่องทั้งหมด 495 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
   ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (43) พระเนื้อดิน (28) พระเนื้อชิน (4) พระเนื้อผง (0) พระกริ่ง (0) พระรูปหล่อ (19) พระเหรียญ (70) เหรียญหล่อ (41) พระปิดตา (0) พระบูชา (0) เครื่องราง (28)
   เมนูช่วยเหลือ
วิธีการชำระเงิน
เงื่อนไขการรับประกัน
ติดต่อเรา
   สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 495 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 233 ชิ้น
   บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
  รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
  ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย
หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม
หลวงปู่สวน วัดนาอุดม
หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันตก
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
ครูบาหล้า วัดป่าตึง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


พระเครื่องทามอมูเล็ตดอทคอม

มาดูพระดอทคอม

พระหลวงตา

ตือ (เจริญ) ท่าพระจันทร์

แป๊ะ บางกะพร้อม

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ / ผู้เข้าชม : 5671 คน
ข้อมูลประวัิต หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ ชลบุรี

เกิด                      วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2408  ตรงกับขึ้น 11 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู  เป็นชาว อ.สัตหีบ ชลบุรี  เป็นบุตรของ นายขำ  นางเอียง  ทองขำ

อุปสมบท               อายุ 25 ปี  ตรงกบ พ.ศ.2433  ณ พัทธสีมาวัดอ่างศิลานอก

มรณภาพ               21 กันยายน 2489  เวลา 21.35 น.

รวมสิริอายุ             82 ปี 57 พรรษา

          ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๐๘ ณ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โยมบิดาชื่อ ขำ ทองขำ โยมมารดาชื่อ เอียง ทองขำ หลวงพ่ออี๋เป็นบุตรชายคนโต ได้รับการศึกษา และอบรมสั่งสอนให้เป็นกุลบุตรที่ดี เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง

          บิดาของท่านรับราชการ ตำแหน่งที่ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่า นายกอง

          ในปี ๒๔๓๓ ท่านมีอายุ ๒๕ ปี ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดอ่างศิลานอก โดยมี พระอาจารย์จั่น จันทสโร วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “พุทธสโร ภิกขุ” แปลว่า “ผู้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า”

          หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เรียนวิชาการและศึกษาพระธรรมกับพระอาจารย์แดง วัดอ่างศิลานอก ซึ่งเป็นพระเถระที่มีภูมิธรรมสูง ทั้งยังมีวิชาอาคม แก้อาถรรพณ์คุณไสย ตลอดถึงการสักยันต์

พระอาจารย์จั่น พระอาจารย์แดง และพระอาจารย์เหมือน ได้สอนศาสตร์วิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่ออี๋ ลูกศิษย์ของท่าน จนหมดสิ้น เป็นเวลา ๖ พรรษาเต็มๆ

          การที่หลวงพ่ออี๋ท่านมุมานะศึกษาเล่าเรียน จุดประสงค์ก็เพื่อจะนำมาสงเคราะห์ญาติโยม ชาวบ้านผู้เดือดร้อนโดยทั่วไป

          ช่วง พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๕๑ หลวงพ่ออี๋ โยมบิดา ตลอดถึงชาวบ้าน ได้ร่วมกันสร้างวัด โดยไปหาไม้สวยๆ ในบริเวณใกล้เคียงมาทำเสา ทำฝา และหาดินเหนียวที่บางปะกง เอาไปเผาทำกระเบื้องมุงหลังคา

          การสร้างวัดของท่าน ไม่ถึง ๕ ปีก็แล้วเสร็จ เว้นอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ ซึ่งได้มีการสร้างในเวลาต่อมา วัดที่สร้างขึ้นนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ใน พ.ศ.๒๔๖๓ 

          ปีที่หลวงพ่ออี๋ท่านสร้างวัดนั้น กิตติศัพท์ของท่านได้ขจรขจายอย่างกว้างไกล ในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหาร ผู้คนพากันหลั่งไหลไปกราบท่านมากมาย มีทั้งที่ต้องการฟังธรรมะ และการปฏิบัติสมาธิกับท่าน บางคนต้องการวัตถุมงคล ก็ได้สมความปรารถนาทุกประการ

          ต่อมาท่านได้ออกรุกขมูลอยู่เป็นประจำ เหมือนครูบาอาจารย์ของท่าน และนี่เองเป็นมูลเหตุในการสร้าง ปลัดขิก ของท่าน

          เท่าที่ทราบ ปลัดขิก ของ หลวงพ่ออี๋ สร้างจากวัสดุมงคลหลายชนิด อาทิ ไม้กัลปังหา ที่ขึ้นอยู่ใต้ท้องทะเล มีทั้งสีดำ สีแดง สีขาว ซึ่งปัจจุบันปลัดขิกกัลปังหาสีขาว ของท่านเป็นของหาชมได้ยากมาก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างจำนวนน้อย เพราะว่าวัสดุคงหายาก

ส่วนประเภทที่สร้างจากไม้ ท่านได้ใช้ต้นไม้ หรือชื่อต้นไม้ที่เป็นมงคลในตัว เช่น แก่นจากไม้ต้นคูณ แก่นจากไม้ต้นมะขาม แก่นจากไม้ต้นขนุน และไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา รวมทั้งชาวบ้าน แกะมาให้ท่านลงอักขระ ปลุกเสกให้ก็มีจำนวนมาก 

ปลัดขิก ของ หลวงพ่ออี๋ มีหลายขนาด ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และตัวปลัดขิกมีลักษณะเดียวกัน คือ เรียวยาว ได้สัดส่วน ปลายหัวปลัดขิกมี ๒ แบบ คือ 

          แบบแรก ปลายหัวปลัดขิกจะเรียว ออกแหลม เรียกว่า หัวปลาหลด

          แบบที่สอง ปลายหัวปลัดขิกจะมีลักษณะมน ออกบาน เรียกว่า หัวหมวกเยอรมันโดยเรียกกันตามลักษณะที่เห็น แล้วแต่ใครจะชอบเรียกกันแบบไหนแต่ที่สำคัญที่สุดของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ ต้องมีสัญลักษณ์เดียวกันทุกชิ้น คือ อักขระยันต์ที่ลงในตัวปลัดขิกด้านข้าง จะต้องเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า กันหะ เนหะส่วนหัวด้านข้างทั้งสองด้าน จะลงอักขระยันต์ขอมตัว มิ ไว้ทั้งสองข้างตรงกลางหัวปลัดขิก จะลงอักขระยันต์ขอมตัว อุณาโลม

          ด้านในด้านบน ติดกับขอบหัวปลัดขิก จะลง พินทุ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ เอาไว้ทั้ง ๔ จุดนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ปัจจุบันนี้ ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ ได้รับความนิยมสูงสุด คู่มากับปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

          ด้านพุทธคุณ นอกจากเชื่อว่า ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ มีพุทธคุณด้านเมตตา มหานิยม ให้โชค ให้ลาภ มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตครอบครัวแล้ว ปลัดขิกของท่านยังช่วย ป้องกันภูตผีปีศาจ และ ปัดป้องสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร ได้อีกด้วย

          สนนราคา สภาพพอสวย เห็นอักขระยันต์ชัดเจน ดูง่าย ราคาอยู่ในหลักหมื่นขึ้นไป
 
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม เช่น ปลักขิก  ตะกรุด  ผ้ายันต์  เสื้อยันต์สีแดง และสีขาว  รูปถ่าย  และเหรียญ เป็นต้น     

          เหรียญรุ่นแรก ปี 2473  สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสหล่อพระประธานประจำพระอุโบสถของวัดสัตหีบ มี 2 ชนิด คือ เหรียญรูปไข่  (แจกผู้ชาย) และเหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (แจกผู้หญิง) มีเนื้อเงิน และทองแดง

          เหรียญรุ่นสร้างโรงเรียน ปี 2483  มี 2 พิมพ์  คือ เหรียญรูปไข่  และเหรียญกลม

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
   ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

   พระเครื่องแนะนำ

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า(45) ตะกรุดจันทร์เพ็ญแกนตะกั่วยาว3นิ้วถักเชือกลงรักสภาพสวยสมบรูณ์จ.ชัยนาท 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก(1-85) เหรียญรูปไข่เล็กหลังยันต์พุท-ธะ-สัง-มิเนื้อเงิน(หายาก)พศ2490จ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี (2-64) เหรียญเม็ดแตงบล็อกหน้าผาก3เส้นหนังสือเลยหูเนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิลปี06 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง(8-19) พิมพ์มารวิชัยเนื้อดินเผาพระส่งประกวดติดโบว์รังวัลที่3ที่ตั้งฮั่วเส้งธนบุรีจ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


พระคง กรุวัดคงฤาษี จลำพูน(2-27) เนื้อดินเนื้อหาโซนเหลืองพิกุลแห้งฟอร์มพระใบโพธิ์เด้งคมชัดลึกชัดเจนดีครับ 

โทรถาม บาท


ท่านเจ้าคุณศรี-สนธิ์ วัดสุทัศน์ฯ(5-29) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์นาคปรก(วันเสาร์)เนื้อทองผสมจ.กทม 

โทรถาม บาท


พระเนื้อผงวัดท้ายตลาด(4-21) พิมพ์พุทธกวักเนื้อผงผสมใบลานกลุ่มพิมพ์นิยมมาพร้อมกับคราบไขกรุ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง(1-22) พระปิดตาพิมพ์ตะพาบเข่ากว้าง-สะดือจุ่นเนื้อผงจุ่มรักยุคต้นพศ2495จ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณฯ ลูกอมเนื้อเมฆพัดเกจิอาจารย์ยุคเก่ายุคเล่นแร่แปรธาตุเคล็ด"กลับร้ายกลายเป็นดี" 

โทรถาม บาท


พระพุทธชินราชอินโดจีนจ.กทม (5-33) พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง-ทรงเครื่องเนื้อทองผสมฟอร์มดีเทหล่อล่ำบึกมีโค๊ตจ.กทม 

โทรถาม บาท


หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง(6-25) พิมพ์เสมาหลังหลุมบล็อกที่5เนื้อทองฝาบาตรหลังหลุมพศ2516จ.นนทบุรี 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อหอม วัดชางหมาก จ.ระยอง(27) สิงห์งาแกะศิลป์ปากนกแก้วลิ้นสาริกายุคตันแกะ2ขวัญเลข๑ไทย 

โทรถาม บาท


พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง(2-320) พลายคู่ตัดเดียวหน้ามงคลกลางฟอร์มพระดีมากหน้าตาติดชัดจ.สุพรรณบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง (1-39) เหรียญหล่อสมเด็จมีหูพิมพ์แหลมเนื้อทองผสมติดที่3งานศูนย์ราชการกทม 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว (4-39) เหรียญหล่อนาคปรก5เนื้อทองผสมติดรังวัลที่2ศูนย์ราชการงานของสมาคมฯ 

โทรถาม? บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
   เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด