พระเครื่องทั้งหมด 495 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
   ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (43) พระเนื้อดิน (28) พระเนื้อชิน (4) พระเนื้อผง (0) พระกริ่ง (0) พระรูปหล่อ (19) พระเหรียญ (70) เหรียญหล่อ (41) พระปิดตา (0) พระบูชา (0) เครื่องราง (28)
   เมนูช่วยเหลือ
วิธีการชำระเงิน
เงื่อนไขการรับประกัน
ติดต่อเรา
   สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 495 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 233 ชิ้น
   บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
  รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
  ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย
หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม
หลวงปู่สวน วัดนาอุดม
หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันตก
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
ครูบาหล้า วัดป่าตึง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


พระเครื่องทามอมูเล็ตดอทคอม

มาดูพระดอทคอม

พระหลวงตา

ตือ (เจริญ) ท่าพระจันทร์

แป๊ะ บางกะพร้อม

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
พระอาจารย์เสาร์ วัดเลียบ / ผู้เข้าชม : 4863 คน
หลวงปู่เสาร์ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี

ข้อมูลประวัติ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล (หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล)

          หลวงปู่เสาร์   กันตสีโล นามเดิม  เสาร์  เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ประวัติเกี่ยวกับบิดา-มารดาไม่มีบันทึกไว้)การศึกษาได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย และหนังสือไทยด้วย อุปสมบทที่วัดใต้ ต่อมาภายหลังท่านได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมี พระครูฑา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์
   
          เมื่อจุลศักราช 1210 (พ.ศ. 2391 ) ปีวอก เอกศก เดือน สิบสอง ขึ้น 10 ค่ำ วันพฤหัสบดี หลวงพ่อทิพย์ เสนา ฉายา ทิพพเสโน นามสกุล แท่นทิพย์ ได้ก่อตั้งวัดเลียบ เดิมเป็นสำนักสงฆ์(สำนักวิปัสสนา) เมื่อหลวงพ่อทิพย์เสนาได้มรณภาพลงเป็นเหตุให้สำนักสงฆ์(สำนักวิปัสสนา) ตั้งไว้ 44 ปี วัดเลียบจึงเป็นวัดร้าง จนมาถึงจุลศักราช 1254 (พ.ศ. 2435 ) พระอาจารย์เสาร์ ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ เมื่อวันอังคาร เดือน เมษายน ขึ้น 1 ค่ำปีมะเส็ง ท่านได้บุกเบิกเสริมสร้างวัดเลียบ พระอาจารย์เสาร์ พร้อมด้วย พระอุบลการประชานิจ (บุญชู) และพระสุรพล ชยากร (อุ่น) ได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุ มีศาลาการเปรียญ และพระอาจารย์เสารท่านได้ลงมือก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูงจากฐานถึงยอดเกศ 3 เมตร ปัจจุบันประดิษฐานภายในอุโบสถวัดเลียบ มีพระนามว่า "พระพุทธจอมเมือง" พระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก่อสร้างด้วยไม้ มีเฉลียงโดย รอบ หลังคามุงสังกะสีมีความกว้าง 8 เมตร ความยาว 12 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2439 พระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล พร้อมด้วยท่ายสิทธิสารและเพี้ยเมืองจัน ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ 84/303 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 ร.ศ. 115 ตรงกับปีที่ 29 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 และได้ผูกพัทธสีมา

          เมื่อพุทธศักราช 2445 เป็นเวลา 10 ปี ที่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้บุกเบิกสำนักวัดเลียบ และท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ พระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายผู้อาวุโส และเป็นบุคคลที่พูดน้อย ท่านไม่ค่อยจะคลุกคลีกับหมู่คณะเป็นที่ยำเกรงของทุกคนจึงทำให้ขาดการเรียบ เรียงไป พระอาจารย์ กนฺสีโล เป็นพระที่สงบเสงี่ยม กิริยามารยาทอ่อนน้อมสุขุมพูดน้อย จิตใจมีแต่ความเมตตา

อยู่ป่าดงดีกว่า

          พระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานให้แก่พระอาจารย์เสาร์ ไม่ปรากฎนามในประวัติท่าน แต่ได้ปฏิบัติภาวนาได้ไม่นาน ทำให้พระอาจารย์เสาร์ หันมาสนใจในการปฏิบัติอย่างมาก เพราะการปฏิบัติสมาธิดภาวนาเป็นชื่อแห่งความเพียร ที่นักปฏิบัติทั้งหลายในบวรพระพุทธศานาได้ถือเป็นข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นอย่างยิ่งซึ่งไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งกว่าพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล มีความรู้ความเข้าใจขึ้นโดยลำดับแห่งองค์ภาวนา ก็ยิ่งมีความชอบมีความพอใจเป็นพิเศษ ต่อมาท่านมีความคิดอยู่ว่า การที่ท่านปฏิบัติภาวนา อยู่นี้ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ทางที่ดีควรออกไปอยู่ป่าดงหาสถานาที่สงบระงับจากผู้คนพลุกพล่าน จิตใจคงจะสงบลงได้ยิ่งกว่านี้เป็นแน่ ดังนั้นท่านได้ออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าทันทีในวันรุ่งขึ้น ความปรารถนาของพระอาจารย์เสาร์ ในการออกป่าดงเพื่อภาวนาและพิจารณาสมาธิธรรมในครั้งนี้ ถ้าแม้เป็นไปจริงดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับเข้ามาสู่วัดท่านจะนำความรู้ที่เกิดจากจิตใจเหล่านั้นมาเผยแพร่ฝึกสอนลูกศิษย์ลูกหาที่หวังความพ้นทุกข์อีกต่อไป
   
สำนักวัดเลียบ

          ภายหลังที่ท่านพระอาจารย์ เสาร์ กนฺตสีโล ไปอยู่ดงอยู่ป่า เป็นเวลาอันควรแล้ว ท่านได้กลับออกมาและเปิดสำนักปฏิบัติธรรม ณ วัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลฯ เมื่อ พ.ศ. 2435 ในชีวิตพระอาจารย์เสาร์ ท่านได้ฝากจิตใจไว้กับพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด ท่านพยายามรวบรวมเขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า "จตุรารักข์ "  เป็นหนังสือที่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้บรรจงแต่งไว้เพื่อพวกเรา ที่เป็นพุทธบริษัทควรได้ศึกษา โดยท่านได้แสดงไว้ดังนี้

          1. ให้มนุษย์เราทุกคนรู้จักระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือให้เจริญ พุทธานุสสติ
          2. ให้มนุษย์เราทุกคน เมื่อเกิดมาแล้วเข้าใจตนเองว่านับถือพระพุทธศาสนาแล้ว จงให้เจริญเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา เป็นนุสติ
          3. ให้มนุษย์เราทุกคน จงรู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้วจงรู้กฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึง ให้เจริญความไม่เที่ยง มีความทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนของเรา ฉะนั้นจงเจริญอสุภานุสติ
         4. มนุษย์เราทุกคน จงพิจารณากองทุกข์นับตั้งแต่เกิดมาจนวาระสุดท้าย คือ ความตาย เพราะเราหนีความตายไปไม่ได้จงให้เจริญมรณานุสติ

         ท่านได้ย้ำไว้ในหนังสืออีกว่า " เรื่องของกรรมคนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่กรรมนั้นจักเป็นทายาท ให้เราได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆไป " นี่เป็นความหมายที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กล่าวเป็นนัยสืบมา

          ภายหลังที่ท่านได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมที่วัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลฯ ได้ไม่นาน โคมทองแห่งพระพุทธศาสนาได้ถูกจุดขึ้น เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดเลียบ อำเภอเมืองอุบลฯ โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ้ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้นได้ถวายตัวเป็นศิษย์ และได้อยู่จำพรรษากับพระอาจารย์เสาร์ ได้นำอุบายอันควรให้พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต น้อมนำจิตใจ บังเกิดความสงบ คือ พุท-โธ และคำบริกรรมนี้ตรงกับจริตของพระอาจารย์มั่นยิ่งนัก ท่านได้ถือเป็นนิสัยที่ชอบกว่าบรรดาบทธรรมอื่นๆและได้บังเกิดความสงบทางจิต ของลูกศิษย์ผู้บวชใหม่นี้
 
          เมื่อออกพรรษา พระอาจารย์เสาร์ ท่านออกธุดงค์ ไปกับพระอาจารย์มั่น ซึ่งสมัยที่ท่านออกบำเพ็ญภาวนาในครั้งนั้นโดยส่วนมาก ไม่ค่อยจะมีใครกระทำหรือปฏิบัติกันเลย เมื่อชาวบ้านเห็นพระธุดงค์ก็จะพากันหวาดกลัวเพราะไม่เคยเห็น จะพากันวิ่งเข้าป่าเข้าบ้านกันหมด เพราะในสมัยนั้นไม่เคยมีหรือปรากฎขึ้นในวงการของสงฆ์และไม่เคยได้ศึกษาในพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา พระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น ก็มิได้ตำหนิชาวบ้าน ท่านเข้าใจดีท่านจะมีแต่ความเมตตาสงสารเท่านั้น ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล ท่านเป็นพระมุ่งปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่เคยสนใจเรื่องภายนอกท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีคนรู้จักนับถือมากก็จริง อยู่แต่การงานต่างๆที่จะให้ท่านเป็นผู้ดำเนินงานนั้นท่านไม่ค่อยสนใจมากนัก เพราะท่านถือว่าทางโลกธรรมแล้ว ถ้าเรายังต้องเกาะเกี่ยวอยู่เสมอๆแล้ว จะทำให้ทางด้านปฏิบัติของท่านไม่ก้าวหน้า
ปฏิปทาเดิมของพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล นั้น ท่านปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญเร่งเพียรเข้ามากๆใจรู้สึกประวัดๆถึงความปรารถนาเดิม

          เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเวลาออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปพระนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียร เพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบัน ท่านเลยอธิฐาน ของดจากความปรารถนานั้นและขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติ ปัจจุบันไม่ขอเกิดมารับทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆต่อไป
 
          ในปี พ.ศ. 2458 พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกธุดงค์บุกป่าฝ่าดงดิบมาอยู่จำพรรษาที่ถ้ำภูผากูด อำเภอคำชะอี (ปัจจุบันจ.มุกดาหาร) สภาพป่าโดยรอบๆบริเวณภูเขาอันเป็นถ้ำแห่ง่หนึ่งเป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า แต่ะไม่เป็นดงทึบเเหมือนดงอื่นๆ ณ สถานที่แห่งนี้ท่านได้อยู่นานถึง 5 ปีเต็ม เพื่อเจริญภาวนา ท่ามกลางสัตว์ป่า เมื่อพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้พยายามพิจารณากาย เจริญทุกวัน พอจวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ได้ทราบชัดถึงความจริงทุกประการ ท่านจึงได้บอกให้พระอาจารย์มั่นทราบว่าเราได้เลิกการปรารถนา พระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อพระอาจารย์มั่นได้ยินดังนั้นแล้ว ก็เกิดปิติยิ่งนักและได้ทราบในวาระจิตว่า พระอาจารย์ค้นพบทางวิมุตติแน่แล้ว

          ในอัตตภาพนี้ ในระยะนั้นพระอาจารย์มั่น ได้พรรษา 26 ท่านได้ปฏิบัติท่านพระอาจารย์เสาร์เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ซักจีวร ปู่ที่นอน ตักน้ำถวายสรง ถูหลังทุกประการ แม้พระอาจารย์เสาร์ ท่านจะห้ามไม่ให้ทา แต่ท่านก็ปฏิบัติได้โดยมิได้มีอาการแข็งกระด้างแต่ประการใด หลังจากได้อยู่จำพรรษาที่ถ้ำผากูด ได้ 5 พรรษาแล้ว ท่านก็ได้ออกไปพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ซึ่งไปๆมาๆ ในเขตท้องที่อำเภอมุกดาหาร และอำเภอคำชะอี หลังจากออกพรรษา ในปี 2469 พระอาจารย์เสาร์ ได้ออกธุดงค์ไปพักกับพระอาจารย์มั่น และได้ปรึกษาที่จะจัดวางระเบียบในการเดินธุดงค์อยู่เสนาสนะป่า

          เมื่อพระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านตกลงกันแล้ว ท่านได้เรียกประชุมคณะศิษย์ทุกองค์มารรวมกันที่บ้านโนนแดง พระอาจารย์เสาร์ได้วางระเบียบ ในการปฏิบัติเพื่อให้คณะศิษย์ของท่านทุกองค์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียว กัน ระเบียบการอุบายต่างๆ ลูกศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติจนทุกวันนี้
 
          ในสมัยที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พักอยู่วัดบูรพา อำเภอเมืองอุบลราชธานี และได้จัดการสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นหลายสำนักคือ สำนักสงฆ์ วัดภูเขาแก้ว ,สังนักสงฆ์ดอนธาตุ , สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านสวนงัว, สำนักสงฆ์วัดบ้านเหล่าเสือโก้ก (วัดป่าสามัคคีชัย) , สำนักสงฆ์วัดป่าท่าหัวดอน ,สำนักสงฆ์วัดป่าดอนหอธรรม..

พระอาจารย์เสาร์ มรณภาพ

          เมื่อออกพรรษาทุกปี พระอาจารย์เสาร์จะพาออกธุดงค์ลงไปทางใต้ นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีกทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2483มีอยู่วันหนึ่งตอนบ่าย พระอาจารย์เสาร์ นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมา โฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่พระอาจารย์เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รุมกัดต่อยนพระอาจารย์เสาร์ หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลด พวกมันจึงพากันบินหนีไป

          ตั้งแต่นั้นมา พระอาจารย์เสาร์ก็ได้อาพาธมาโดยตลอด พอออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์เสาร์ได้ไปวิเวิกทางด้านปากเซ หลี่ผี จำปาศักดิ์ แต่ไปคราวนี้พระอาจารย์เสาร์ป่วยหนัก ท่านจึงสั่งให้หลวงปู่บัวพาและคณะศิษย์นำท่านกลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ประเทศลาว โดยมาทางเรือ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ท่านนนอนบนแคร่ในเรือประทุนพระอาจารย์เสาร์ หลับตามนิ่งมาตลอด เพราะตอนนั้นท่านกำลังอาพาธหนัก อันเกิดจากผึ้งที่ได้ต่อยท่านตอนที่จำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้ว ท่านลืมตามขึ้นพูดว่า " ถึงแล้วใช่ใหม่ ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น"
 
          หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส จึงได้นำพระอาจารย์เสาร์เข้าไปในอุโบสถ แล้วพระอาจารย์เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฏิมาใส่ แล้วเตรียมตัวเข้านั่งสมาธิ ท่านกราบพระ 3 ครั้ง พอกราบครั้งที่ 3ท่านนิ่งงันโดยไม่ขยับเขยื้อน ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบ ข่าวการมรณภาพ ก็แพร่กระจายไปเรื่อยๆ ชาวนครจำปาศักดิ์ ขอทำบุญอยู่ 3 วัน เพื่อบูชาคุณขององค์พระอาจารย์เสาร์ อยู่ 3 วัน พอวันที่ 4 บรรดาพระเถระ ญาติโยมชาวอุบลฯ จึงได้มาอัญเชิญศพของพระอาจารย์เสาร์ไปวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ ปีที่พระอาจารย์เสาร์ มรณภาพคือ ปี พ.ศ. 2484 (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2484 รวมอายุ 82 ปี 3 เดือน 1 วัน)
 
          ออกพรรษาแล้ว ปี พ.ศ. 2486 จึงได้จัดพิธีถวายเพลิงศพของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ในงานนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นประธาน แต่ผุ้ดำเนินงานคือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ในวันถวายเพลิงศพ นอกจากศพของพระอาจารย์เสาร์แล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีก 3 รูป ที่มีการฌาปนกิจในวันเดียวกัน คือ
 
1. ท่านเจ้าคุณ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)
2. พระมหารัฐ รฏฺฐปาโล
3. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
   รวมเป็น 4 กับองค์พระอาจารย์เสาร์ ...


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
   ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

   พระเครื่องแนะนำ

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า(45) ตะกรุดจันทร์เพ็ญแกนตะกั่วยาว3นิ้วถักเชือกลงรักสภาพสวยสมบรูณ์จ.ชัยนาท 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก(1-85) เหรียญรูปไข่เล็กหลังยันต์พุท-ธะ-สัง-มิเนื้อเงิน(หายาก)พศ2490จ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี (2-64) เหรียญเม็ดแตงบล็อกหน้าผาก3เส้นหนังสือเลยหูเนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิลปี06 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง(8-19) พิมพ์มารวิชัยเนื้อดินเผาพระส่งประกวดติดโบว์รังวัลที่3ที่ตั้งฮั่วเส้งธนบุรีจ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


พระคง กรุวัดคงฤาษี จลำพูน(2-27) เนื้อดินเนื้อหาโซนเหลืองพิกุลแห้งฟอร์มพระใบโพธิ์เด้งคมชัดลึกชัดเจนดีครับ 

โทรถาม บาท


ท่านเจ้าคุณศรี-สนธิ์ วัดสุทัศน์ฯ(5-29) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์นาคปรก(วันเสาร์)เนื้อทองผสมจ.กทม 

โทรถาม บาท


พระเนื้อผงวัดท้ายตลาด(4-21) พิมพ์พุทธกวักเนื้อผงผสมใบลานกลุ่มพิมพ์นิยมมาพร้อมกับคราบไขกรุ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง(1-22) พระปิดตาพิมพ์ตะพาบเข่ากว้าง-สะดือจุ่นเนื้อผงจุ่มรักยุคต้นพศ2495จ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณฯ ลูกอมเนื้อเมฆพัดเกจิอาจารย์ยุคเก่ายุคเล่นแร่แปรธาตุเคล็ด"กลับร้ายกลายเป็นดี" 

โทรถาม บาท


พระพุทธชินราชอินโดจีนจ.กทม (5-33) พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง-ทรงเครื่องเนื้อทองผสมฟอร์มดีเทหล่อล่ำบึกมีโค๊ตจ.กทม 

โทรถาม บาท


หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง(6-25) พิมพ์เสมาหลังหลุมบล็อกที่5เนื้อทองฝาบาตรหลังหลุมพศ2516จ.นนทบุรี 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อหอม วัดชางหมาก จ.ระยอง(27) สิงห์งาแกะศิลป์ปากนกแก้วลิ้นสาริกายุคตันแกะ2ขวัญเลข๑ไทย 

โทรถาม บาท


พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง(2-320) พลายคู่ตัดเดียวหน้ามงคลกลางฟอร์มพระดีมากหน้าตาติดชัดจ.สุพรรณบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง (1-39) เหรียญหล่อสมเด็จมีหูพิมพ์แหลมเนื้อทองผสมติดที่3งานศูนย์ราชการกทม 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว (4-39) เหรียญหล่อนาคปรก5เนื้อทองผสมติดรังวัลที่2ศูนย์ราชการงานของสมาคมฯ 

โทรถาม? บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
   เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด