พระเครื่องทั้งหมด 495 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
   ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (43) พระเนื้อดิน (28) พระเนื้อชิน (4) พระเนื้อผง (0) พระกริ่ง (0) พระรูปหล่อ (19) พระเหรียญ (70) เหรียญหล่อ (41) พระปิดตา (0) พระบูชา (0) เครื่องราง (28)
   เมนูช่วยเหลือ
วิธีการชำระเงิน
เงื่อนไขการรับประกัน
ติดต่อเรา
   สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 495 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 233 ชิ้น
   บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
  รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
  ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย
หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม
หลวงปู่สวน วัดนาอุดม
หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันตก
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
ครูบาหล้า วัดป่าตึง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


พระเครื่องทามอมูเล็ตดอทคอม

มาดูพระดอทคอม

พระหลวงตา

ตือ (เจริญ) ท่าพระจันทร์

แป๊ะ บางกะพร้อม

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
ครูบาพรหมจัก วัดพระพุทธบาทตากผ้า / ผู้เข้าชม : 4166 คน
พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

ข้อมูลประวัติ พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

          ครูบามีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (ป่าซางปัจจุบัน) เป็นบุตรของคุณพ่อเป็ง และคุณแม่บัวถา มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๗ โดยพี่น้องของครูบาต่อมาได้บวชเป็นพระตลอดชีวิตจำนวน ๓ ท่าน ได้แก่ พี่ชายคนที่ ๖ ของท่านคือ พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักรรักษา) และ น้องชายคนที่ ๘ คือ พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย)

          บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่มีการยิงนกตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยันถี่ถ้วนในการงาน ปกครองลูกหลานโดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำทุกวันพระ บิดาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๙๐ ส่วนมารดาของท่านได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐

          เมื่อเด็กชายพรหมาวัยพอสมควรได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน งานประจำคือตักน้ำ ตำข้าว ปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาเท่าที่พอจะทำได้ตามวิสัยของเด็ก ครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วได้สึกออกไป เพราะสมัยนั้นตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษจะเขียนก็หายาก ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำ จึงเป็นการยากแก่การเล่าเรียน อาศัยความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลังจึงพออ่านออกเขียนได้

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

          เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครูบาได้ขอบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอปากบ่วง (ป่าซางในปัจจุบัน) จ.ลำพูน โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่ออายุครบบวช จึงได้ทำการอุปสมบท ณ วัดป่าเหียง เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า"พรหมจักโก" ซึ่งท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน และได้สอบผ่านนักธรรมในปี พ.ศ.๒๔๖๒

          ลุถึงอายุ ๒๔ พรรษาที่ ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ เดือนเพ็ญ ๘ (เดือน ๑๐ทางหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ครูบาพรหมาได้ตัดสนใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ โยมพ่อ โยมแม่ พร้อมทั้งญาติพี่น้องเพื่อออกไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเดินทางออกจากวัด ท่านได้มุ่งตรงสู่ดอยน้อย ซึ่งตั้งอยู่ฝากแม่น้ำปิง เขต อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย) ติดตามไปด้วย วันต่อมาก็มีท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ได้กรุณาติดตามไปอีกท่าหนึ่ง โดยได้พักจำพรรษาอยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง บำเพ็ญสมณธรรมได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่แถวนั้นเป็นอย่างดี พอออกพรรษาท่านครูบาพร้อมคณะที่ติดตามได้พากันเดินทางกลับมาคาราวะพระอุปัชฌาย์ พักอยู่ ๓ คืนก็ได้กราบลาท่านพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางสู่ป่า พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตร จีวรกับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำและผ้ากรองน้ำและออกเดินทางเข้าสู่ป่า เพื่อแสวงหา ความสงบ บำเพ็ญสมณธรรมให้เต็มความสามารถน้อมจิตไปในทางปฏิบัติ

          ครูบาท่านออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ เดินทางเข้าไปเขตพม่าและจำพรรษาอยู่ในเขตพม่าเป็นเวลานาน ๕ ปี หรือตามหมู่บ้านกระเหรี่ยงชาวเขา จนท่านครูบาสามารถพูดภาษากระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี

          เมื่อคราวจำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ ท่านถือธุดงค์วัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ภายหลังจากที่ท่านครูบาพรหมาได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่า ตามนิคมต่างๆ หลายแห่งเป็นเวลา ๒๐ พรรษา ท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคได้รับความสุข ความทุกข์ ความลำบาก บางครั้งไม่ได้ฉันท์ภัตตาหาร ๑-๒ วัน ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด

          หลังจากที่ท่านได้เดินธุดงค์ไปตามป่าและตามนิคมหลายที่หลายแห่งเป็นเวลานานหลายสิบปี ได้รับความสุข ความทุกข์ทรมาน ได้ผ่านประสบการณ์มามากต่อมากแล้ว ท่านก็ได้มาพักอยู่วัดป่าหนองเจดีย์ ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตามคำนิมนต์ของครูบาอาจารย์ญาติโยม ได้มาประจำอยู่ที่นั้น ๔ พรรษา หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อันเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาตั้งพันกว่าปีได้ อยู่ได้พรรษาเดียวก็ได้ย้ายไปอยู่ป่าม่อนมะหิน ประจำอยู่ที่นั่น ๒ พรรษาแล้วได้ย้ายไปอยู่วัดป่าหนองเจดีย์อีก ๒ พรรษา

          พ.ศ.๒๔๙๑ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ท่านจะชราภาพและได้จำพรรษาในวัดเป็นประจำแล้ว แต่ท่านยังถือธุดงค์ศรัทธาเป็นประจำ ในฤดูแล้งปีไหนมีโอกาส ท่านก็อุตส่าห์พาภิกษุสามเณรไปเดินธุดงค์อยู่ตามป่าหรือป่าช้าเป็นครั้งคราว เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ทราบปฏิปทาในการเดินธุดงค์ แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ยังวัด

          ท่านพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาให้อยู่ในศีลธรรม จัดตั้งสำนักโรงเรียนพระปริยัติ นักธรรมบาลี จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน พัฒนาวัดพระพุทธบาทตากผ้าให้เจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพระภิกษุสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาประชาชนทุกเพศทุกวัยทั้งในประเทศ และนานาประเทศ พระครูบาเจ้าพรหมา พรหมจักโก ทรงไว้ซึ่งคุณแห่งพระสุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์ ผู้มีความบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงมีจริยาวัตรอันงดงาม มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด มีปฏิปทาอันอุดมและมั่นคง บำเพ็ญสมณธรรมอยู่เนืองนิจ คือผู้นำประโยชน์ความสุข ความสงบให้เกิดแก่หมู่คณะ ทรงไว้คือสังฆรัตนะคุณควรบูชาสักการะแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

มรณภาพ

          ครูบาเจ้าพรหมจักรได้บำเพ็ญสมณธรรมจนเข้าสู่วัยชราภาพ สังขารของท่านชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาการเจ็บไข้ได้ป่วยจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ท่านครูบาเจ้าได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อนที่ท่านครูบาท่านจะละสังขาร ท่านครูบาได้ตื่นจากจำวัด แต่เช้าปฏิบัติธรรมตามกิจวัตร เมื่อถึงเวลาท่านลุกนั่งสมาธิ สำรวมจิตตั้งมั่นสงบระงับ ครูบาเจ้าพรหมจักรได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภานา เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ เวลา ๐๖.๐๐ น.อายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา ๓ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมจักรด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมจักรได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
   ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

   พระเครื่องแนะนำ

หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า(45) ตะกรุดจันทร์เพ็ญแกนตะกั่วยาว3นิ้วถักเชือกลงรักสภาพสวยสมบรูณ์จ.ชัยนาท 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก(1-85) เหรียญรูปไข่เล็กหลังยันต์พุท-ธะ-สัง-มิเนื้อเงิน(หายาก)พศ2490จ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี (2-64) เหรียญเม็ดแตงบล็อกหน้าผาก3เส้นหนังสือเลยหูเนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิลปี06 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง(8-19) พิมพ์มารวิชัยเนื้อดินเผาพระส่งประกวดติดโบว์รังวัลที่3ที่ตั้งฮั่วเส้งธนบุรีจ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


พระคง กรุวัดคงฤาษี จลำพูน(2-27) เนื้อดินเนื้อหาโซนเหลืองพิกุลแห้งฟอร์มพระใบโพธิ์เด้งคมชัดลึกชัดเจนดีครับ 

โทรถาม บาท


ท่านเจ้าคุณศรี-สนธิ์ วัดสุทัศน์ฯ(5-29) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์นาคปรก(วันเสาร์)เนื้อทองผสมจ.กทม 

โทรถาม บาท


พระเนื้อผงวัดท้ายตลาด(4-21) พิมพ์พุทธกวักเนื้อผงผสมใบลานกลุ่มพิมพ์นิยมมาพร้อมกับคราบไขกรุ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง(1-22) พระปิดตาพิมพ์ตะพาบเข่ากว้าง-สะดือจุ่นเนื้อผงจุ่มรักยุคต้นพศ2495จ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณฯ ลูกอมเนื้อเมฆพัดเกจิอาจารย์ยุคเก่ายุคเล่นแร่แปรธาตุเคล็ด"กลับร้ายกลายเป็นดี" 

โทรถาม บาท


พระพุทธชินราชอินโดจีนจ.กทม (5-33) พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง-ทรงเครื่องเนื้อทองผสมฟอร์มดีเทหล่อล่ำบึกมีโค๊ตจ.กทม 

โทรถาม บาท


หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง(6-25) พิมพ์เสมาหลังหลุมบล็อกที่5เนื้อทองฝาบาตรหลังหลุมพศ2516จ.นนทบุรี 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อหอม วัดชางหมาก จ.ระยอง(27) สิงห์งาแกะศิลป์ปากนกแก้วลิ้นสาริกายุคตันแกะ2ขวัญเลข๑ไทย 

โทรถาม บาท


พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง(2-320) พลายคู่ตัดเดียวหน้ามงคลกลางฟอร์มพระดีมากหน้าตาติดชัดจ.สุพรรณบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง (1-39) เหรียญหล่อสมเด็จมีหูพิมพ์แหลมเนื้อทองผสมติดที่3งานศูนย์ราชการกทม 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว (4-39) เหรียญหล่อนาคปรก5เนื้อทองผสมติดรังวัลที่2ศูนย์ราชการงานของสมาคมฯ 

โทรถาม? บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
   เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด