ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ วัดคลองมะดัน (อัมพวัน) จ.สุพรรณบุรี
เกิด ปี 2408 เป็นชาว ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง เป็นบุตรของ นายโต นางจ้อย
อุปสมบท ปี 2432 ณ วัดสองพี่น้อง
มรณภาพ 25 ธันวาคม 2477 ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ
รวมสิริอายุ 69 ปี 45 พรรษา
หลวงพ่อโหน่ง ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โต โยมมารดาชื่อ จ้อย อาชีพทำนา เมื่ออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 ท่านก็อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอาจารย์จันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปจำพรรษาอยู่กับพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาหลวงพ่อโหน่งท่านได้เห็นพระน้าชายมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ มีสิ่งของมากมาย ท่านจึงถามพระน้าชายว่าท่านสละกิเลสหมดแล้วหรือ หลังจากนั้นท่านก็ลาพระน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม หลังจากนั้นก็ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน หลวงพ่อโหน่งได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงพ่อจันทร์ได้ 2 พรรษา จึงได้เดินทางมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน เป็นที่ไว้วางใจของหลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมได้พูดกับหลวงพ่อปานว่า "เวลาข้าตายแล้วเอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้"
เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง ท่านเกิดมีจิตใจไม่สบายอย่างไรชอบกล ท่านจึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะกล่าวอะไร หลวงพ่อเนียมท่านพูดขึ้นก่อนว่า "ฮื้อ ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหรอก กลับไปเถอะ" หลวงพ่อโหน่งท่านจึงรู้สึกสบายใจกลับไปวัดสองพี่น้องได้
ต่อมาหลวง พ่อแสงผู้สร้างวัดคลองมะดัน ทราบว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นผู้ที่จะมาแทนท่านได้จึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่งให้มาจำ พรรษาอยู่ที่วัดคลองมะดัน เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์แสง เมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพลง หลวงพ่อโหน่งก็รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา
เมื่อหลวงพ่อโหน่งท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัด คลองมะดัน ท่านฉันภัตตาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาตจะมานมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วยปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม หลวงพ่อโหน่งท่านเคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงินทอง เจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ท่านถือสันโดษไม่สะสมทรัพย์สิน ท่านได้สร้างสาธารณูปการเพิ่มขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งท่านล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้เสมอ พระเณรทำผิดอะไรที่ไหนท่านรู้หมดโดยที่ไม่มีใครมาบอกท่าน มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปานจะไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน หลวงพ่อโหน่งได้บอกกับลูกศิษย์ให้จัดเตรียมที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา และในวันนั้นหลวงพ่อปานก็ไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดจริงๆ หลวงพ่อโหน่งท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 44
หลวงพ่อโหน่งท่านได้สร้างพระเครื่อง ไว้ให้แก่ศิษย์เป็นพระเนื้อดินเผา สันนิษฐานว่าท่านสร้างไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2461 โดยใช้เวลาการสร้างนานถึง 10 ปี มีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกันเช่น พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์สมเด็จ พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ชินราช พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ลีลา พิมพ์ปิดตา พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ไสยาสน์ เป็นต้น
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลของท่านส่วนใหญ่เป็นพระประเภทเนื้อดินเผา มีมากมายหลายสิบพิมพ์ เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีความแกร่งสีแดงอมส้ม บางองค์ปรากฎเม็ดกรวดทราย และเกล็ดแกลบ สำหรับพิมพี่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์สมเด็จ เป็นต้น
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม
** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย